คันหามเสือ ๓

Trevesia valida Craib

ชื่ออื่น ๆ
กรามแรด (นครศรีธรรมราช); กำลังแรด (ยะลา); นมผา (สุราษฎร์ธานี); นิ้วมือพระนารายณ์, ผักหนองช้าง, ผักหน
ไม้ต้นขนาดเล็ก กิ่งอ่อนมีหนามเล็ก ๆ ลักษณะอ้วนสั้นและมีขนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปฝ่ามือช่อดอกแบบช่อแยกแขนงหรือช่อซี่ร่มเชิงประกอบ ออกตามปลายยอด ดอกสีขาวอมเขียว ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงกลม มีฐานดอกหุ้มไว้เห็นเพียงปลายผลเมล็ดแบนด้านข้าง

คันหามเสือชนิดนี้เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๔ ม. มักไม่แตกกิ่ง กิ่งอ่อนมีหนามเล็ก ๆ ลักษณะอ้วนสั้นและมีขนสีน้ำตาลประปราย

 ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปฝ่ามือ ยาวประมาณ ๓๒ ซม. ขอบเว้า ๗-๙ แฉก แต่ละแฉกรูปใบหอกกลับ กว้างประมาณ ๘ ซม. ยาวประมาณ ๒๑ ซม. ปลายแหลมโคนรูปลิ่ม ขอบจักฟันเลื่อย ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาล เมื่อแก่ค่อนข้างเกลี้ยง เห็นเส้นใบชัดเจนทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบยาวประมาณ ๖๕ ซม. มีขนสีน้ำตาล เมื่อแก่เกลี้ยง หูใบ ยาวประมาณ ๒.๕ ซม.

 ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายยอด ยาวประมาณ ๗๐ ซม. มีหนามเด็กน้อย ช่อย่อยแบบ ช่อซี่ร่ม ส่วนปลายช่อเป็นช่อซี่ร่มเชิงประกอบ ก้านช่อย่อยยาวประมาณ ๑๕ ซม. มีใบประดับสั้น ๆ แต่ละช่อมีดอกมาก ก้านดอกยาวประมาณ ๑ ซม. มีขนสีน้ำตาลกลีบเลี้ยงเล็กมาก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดด้านในเชื่อมติดกับรังไข่ ปลายแยกเป็นแฉกเล็ก ๆ ๕(-๗) แฉก กลีบดอก ๗ กลีบ รูปครึ่งวงกลม สีขาวอมเขียวยาวประมาณ ๖ มม. เกสรเพศผู้ ๗ เกสร ขนาดไม่เท่ากันรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ รูปกลม มี ๖-๗ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียหนา แข็ง ฐานดอกใหญ่

 ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปทรงกลม มีฐานดอกหุ้มไว้เห็นเพียงปลายผล เมล็ดแบนด้านข้าง

 คันหามเสือชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคใต้ พบขึ้นในป่าดิบ ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลถึงประมาณ ๓๐๐ ม. ออกดอกเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นผลเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย.

ชื่อหลักหรือชื่อทางการ
คันหามเสือ ๓
ชื่อวิทยาศาสตร์
Trevesia valida Craib
ชื่อสกุล
Trevesia
คำระบุชนิด
valida
ชื่อผู้ตั้งพรรณพืช
- Craib, William Grant
ช่วงเวลาเกี่ยวกับผู้ตั้งพรรณพืช
- (1882-1933)
ชื่ออื่น ๆ
กรามแรด (นครศรีธรรมราช); กำลังแรด (ยะลา); นมผา (สุราษฎร์ธานี); นิ้วมือพระนารายณ์, ผักหนองช้าง, ผักหน
ผู้เขียนคำอธิบาย
ผศ. ดร.จิรายุพิน จันทรประสงค์